top of page

Creative Economy: Future of Music Industry in Thailand

Panel Discussion
30 August 2020
14:00 - 15:00 hrs (GMT+7)

Dr. Kawin Dheppatipat, Curator

Creative Economy Agency (Public Organization)

page-2.png

สํานักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) (สศส.) ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนากลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจชุดใหม่ (New Engines of Growth) โดยกําหนดให้มีภารกิจหลักในการส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ผ่านการสนับสนุนนวัตกรรมและการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ รวมทั้งจัดเก็บข้อมูล สถิติ องค์ความรู้ และนวัตกรรมต่างๆ เพื่อเพิ่มศักยภาพของบุคลากรและพัฒนาธุรกิจของประเทศ การพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (Creative Industries) ให้มีความพร้อมและมีศักยภาพในการแข่งขันจึงเป็นหนึ่งในเปäาหมายสําคัญของ สศส. โดย สํานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) ได้กําหนดให้อุตสาหกรรมสร้างสรรคJของประเทศไทย ประกอบด้วย 12 สาขา ได้แก่ 


1. งานฝีมือและหัตถกรรม (Crafts) 

2. ศิลปะการแสดง (Performing Arts) 

3. ทัศนศิลป์ (Visual Arts) 

4. ดนตรี (Music) 

5. ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ (Film and Video) 

6. การพิมพ์ (Publishing) 

7. การกระจายเสียง (Broadcasting) 

8. ซอฟต์แวร์ (Software) 

9. การโฆษณา (Advertising) 

10. การออกแบบ (Design) 

11. สถาปัตยกรรม (Architecture) และ 

12. แฟชั่น(Fashion) 


ทั้งนี้ ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์แต่ละสาขา มีลักษณะในการดําเนินกิจการ ปัญหาและข้อจํากัดที่แตกต่างกัน การกําหนดแนวทางการพัฒนาผู้ประกอบการที่เหมาะสม มีประสิทธิภาพ จําเปนต้องทราบถึงรายละเอียดข้อมูลสถานการณ์ สภาพปัญหาที่ธุรกิจต้องเผชิญ รวมถึงประเด็นที่จะก่อให้เกิดผลต่อการดําเนินกิจการ สศส. จึงได้ดําเนินโครงการจัดทําฐานข้อมูลและแผนพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์รายสาขา:สาขาดนตรี ศิลปะการแสดง และทัศนศิลป์เพื่อศึกษาและรวบรวมข้อมูลสถิติที่เกี่ยวข้องสําหรับวางโครงสร้างฐานข้อมูลของอุตสาหกรรมดังกล้าว รวมทั้งวิเคราะห์ศักยภาพและขีดความสามารถของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ สาขาดนตรี ศิลปะการแสดง และทัศนศิลป์แนวทางการส่งเสริม/มาตรการที่เหมาะสม มีประสิทธิภาพ และนําไปกําหนดเป็นแผนยุทธศาสตร์แผนปฏิบัติการที่สอดรับกับนโยบายของรัฐบาล รวมทั้งผลักดันให้มีการนําแผนพัฒนาฯ ไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม อันจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมดังกล่าวต่อไป 


วัตถุประสงค์ของโครงการ 

• เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ถึงภาพรวม สถานการณ์ ศักยภาพ พร้อมทั้งวางทิศทางและจัดทําแผนพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์รายสาขา: สาขาดนตรี ศิลปะการแสดง และทัศนศิลป์ที่มีความเหมาะสมและสามารถนําไปปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม 

• เพื่อจัดทําแนวทางการรวบรวมข้อมูลและสถิติที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมสร้างสรรค์รายสาขา : สาขาดนตรี ศิลปะการแสดง และทัศนศิลป์เช่น จํานวนผู้ประกอบการ จํานวนแรงงาน เป็นต้น สําหรับวางโครงสร้างฐานข้อมูลของอุตสาหกรรมดังกล่าว

bottom of page